วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันอังคารที่ 9 ตุลาคม 2559



เนื้อหาที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ

            ในวันนี้อาจารย์ได้ติดประชุมจึงมีรุ่นพี่คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ ได้มาสอนการจัดทำกิจกรรม Cooking ทาโกยากิไข่ข้าว หน่วยอาหารดีมีประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมที่ทำได้ทั้ง หน่วยไข่ หน่วยข้าว หน่วยผัก
            โดยพี่ๆอธิบายอย่างละเอียดว่า ต้องแบ่งเป็นฐานทั้งหมด 4 ฐานด้วยกันเพื่อให้เกิดขั้นตอนและความละเอียดรอบคอบมากขึ้นซึ่งพี่จะจำลองให้พวกเราเป็นเด็กปฐมวัยและพี่ๆเป็นคุณครู



ก่อนเริ่มกิจกรรมต้องร้องเพลงสงบเด็กก่อนทุกครั้งเพื่อให้เด็กเงียบและสนใจในสิ่งที่จะทำต่อไป
ขั้นแรกของการสอนคือครูทักทายเด็กๆและมีเพลงในการสงบเด็ก
เพลง   มือ
มือ มือ มือ    มือของฉัน
วางมันไว้บนไหล่   มือน้อยน่ารัก
วางบนไหล่ฉันนี่   มือ มือ มือ
มือของฉันวางมันไว้บนตัก
มือน้อยน่ารักวางบนตักฉันเอง

จากนั้นเข้าสู่ขั้นนำโดยการร้องเพลง เพลงอาหารดี
ขั้นนำ ร้องเพลงหรือคำคล้องจอง

เพลง   อาหารดีนั้มีประโยชน์
อาหารดีนั้นมีประโยชน์
คือผักสด เนื้อหมู ปูปลา
เป็ดไก่ ไข่นม ผลไม้นานา
ล้วนมีคุณค่าต่อร่างกายของเรา

-ครูร้องให้ฟังก่อนหนึ่งรอบ
-ครูร้องแล้วให้เด็กร้องตามทีละวรรค
-ครูและเด็กร้องพร้อมกัน
-ทบทวนเนื้อหาจากเพลง

        





ขั้นสอน 
1.จากนั้นครูก็ถามเด็กว่าในเพลงนี้มีอาหารใดที่มีประโยชน์บ้าง แล้วนอกจากในเพลงมีอาหารใดที่มีประโยชน์อีก เป็นการถาม ตอบเด็กก่อนเริ่มกิจกรรม  



2.จากนั้นครูจัดวางสื่อไว้บนโต๊ะพร้อมแปะแผ่นชาร์ตพวก อุปกรณ์ ส่วนผสม วัตถุดิบ วิธีการทำ การอธิบายถึงวัตถุดิบ เช่น ปูอัด ไข่ ข้าว แครอท หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ เครื่องปรุง มาการีน โดยถามเด็กๆว่ารู้จักอะไรบ้าง ถ้าเด็กไม่รู้จักอะไรก็ให้ครูพูดชื่อสิ่งนั้นๆและให้เด็กพูดตาม





3.ครูสาธิตวิธีการทำให้เด็กดูและให้ตัวแทนเด็กออกมาร่วมทำกับครู





4.จากนั้นให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามฐาน







1.ฐานวัตถุดิบอุปกรณ์
- เป็นฐานที่ให้เด็กๆรู้จักวัสดุอุปกรณ์การทำอาหารในการทำ โดยครูให้เด็กวาดรูปวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทำกิจกรรมคุกกิ้ง


2.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์
- เป็นฐานที่จัดเตรียมส่วนผสมต่างๆ เช่นหั่นผัก ตอกไข่ใส่ชาม เป็นต้น การที่ให้เด็กหั่นผัก ควรช่วยเด็กโดยการจับมือเด็กเพื่อความปลอดภัยในระหว่างที่หั่นก็ถามคำถามเด็กเพื่อให้เด็กได้คิดอีกด้วยส่วนผสมเท่าไร เมื่อหั่นแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบใด บรูณาการคณิตศาสตร์เข้าไปช่วยในเรื่องของขนาด









3.ฐานรวมส่วนผสม
- เป็นฐานที่นำวัตถุดิบต่างๆมาตวงปริมาณให้เหมาะสม
บูรณาการทางด้านคณิตศาสตร์คือ มีการบอกถึงตัวเลข
บูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ คือการ วัด ชั่ง ตวง แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนจะนำไปทอด ผัด หรือผ่านความร้อนจนสุกคือการเปลี่ยนแปลง







4.ฐานลงมือปฏิบัติ
- เป็นฐานที่ให้ลงมือทำอาหารจากวัตถุดิบที่เราจัดเตรียมไว้ตั้งแต่แรกนำไปถอดที่กระทะหลุมระหว่างที่ทอดก็ถามเด็กว่าเด็กๆเห็นการเปลี่ยนแปลงของไข่ขาวไหม?จากเดิมเป็นอย่างไรเพราะอะไรทำไมไข่ขาวถึงสุกเมื่อเด็กตอบเด็กก็จะรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง
-ถามเด็กทุกขั้นตอน เช่น ทำยังไงให้รู้ว่าเตาร้อน เด็กๆจะตอบว่า มีควันลอย , ใส่มาการีนแล้วละลายซึ่งจัดว่าบูรณาการวิทยาศาสตร์










ขั้นสรุป
        เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ ครูสรุป แล้วทวนเพลง จากนั้นถามตอบกับเด็กถึงกิจกรรมในวันนี้ว่าเรียนอะไรบ้าง





ความรู้เพิ่มเติม

เพลงมากินข้าวสิ
มากินข้าวสิ มากินข้าวสิ
กับดีดี กับดีดี
มีทั้งแกงและต้มยำ มีทั้งแกงและต้มยำ
อำอ่ำอำ อำอ่ำอำ

 ***ห้ามใส่ผงชูรสหรือรสดีเด็ดขาดเพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กได้ จึงไม่แนะนำ***

 ***ควรนำเม็ดมะเขือเทศออกก่อนหัน เพราะมันจะเปรี้ยว***


การนำไปประยุกต์ใช้
              เมื่อเรารู้หลักวิธีในการสอนเราก็สามารถนำกิจกรรมไปต่อยอดในการสอนได้และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัยและจากสิ่งที่สอนสามารถมาปรับใช้ตอนฝึกสอนได้


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังในสิ่งที่พี่ๆอธิบายและสนใจในกิจกรรมที่ให้ทำเพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นในอนาคตข้างหน้าและมีการจดบันทึกตามที่พี่ๆสอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความสนใจในกิจกรรมเพื่อน มีความสนุกสนาน สามัคคีในการทำกิจกรรมแต่ละฐานอีกด้วยค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ติดภารกิจแต่ก็ยังแวะมาดูมีความสนใจ ใส่ใจในการเรียนการสอนมากๆเลยค่ะไม่ปล่อยหน้าที่ของตนเองยังมีการอธิบายการเรียนการสอนเพิ่มเติมจากพี่ๆอีกด้วย

คำศัพท์
1.Spoon                  สพูน                  ช้อน
2.Tomato                โท เม โท้          มะเขือเทศ
3.Equipment           อิ เควท  เม้น     อุปกรณ์
4.Melt                     เมลท์                ละลาย
5.Safe                     เซฟ                  ปลอดภัย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น