วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559



เนื้อหาที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ได้ทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยการเขียนแผนการสอนกิจกรรมแต่ละวันซึ่งกลุ่มของหนูเรื่อง หน่วยข้าวอาจารย์ให้จับกลุ่มเขียนแผนการสอนร่วมกันโดยแต่ละคนจะมีวันของตัวเองก็เขียนแผนตามวันของตัวเองจากนั้นก็ให้เลือกกิจกรรมมากลุ่มละหนึ่งวันกลุ่มหนูได้มันพุธเป็นเรื่องของการดูแลรักษา ซึ่งแต่ละวันสอนเรื่องดังนี้

วันจันทร์ สอนเรื่อง สายพันธ์ของข้าว
วันอังคาร สอนเรื่อง ลักษณะของข้าว
วันพุธ สอนเรื่อง การดูแลรักษาข้าว
วันพฤหัสบดี สอนเรื่อง ประโยชน์และโทษ
วันศุกร์ สอนเรื่อง การทำ Cooking






เรื่องที่สอนคือ วันพุธการดูแลรักษา

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เด็กได้รู้จักการดูแลรักษาข้าว
2.เพื่อให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อนๆได้
3.เพื่อให้เด็กได้ลงมือทำน้ำหมัก

สาระที่ควรเรียนรู้
การทำน้ำหมักจากวัตถุดิบธรรมชาติเป็นวิธีการทำน้ำหมักเพื่อไล่แมลงในนาข้าวได้

ประสบการสำคัญ
ด้านสังคม = การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
                   การวางแผนตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ
ด้านสติปัญญา = การรู้จักสิ่งต่างๆด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรสและดมกลิ่น
                          การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
                          การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือเล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเอง
                          การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน


กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.ครุพาเด็กอ่านคำคล้องจอง ครูอ่านให้ฟังหนึ่งรอบ เด็กๆอ่านตามครูทีละวรรค ครูและเด็กๆอ่านพร้อมๆกัน

ขั้นสอน
2.ครูถามเด็กว่าในคำคล้องจองมีวิธีการดูแลรักษาข้าวอย่างไรบ้าง (เด็กตอบ) ครูจดบันทึก
3.ครูถามเด็กนอกเหนือจากในคำคล้องจองเด็กๆคิดว่ามีการดูแลรักษาข้าวแบบไหนอีก (เด็กตอบ) ครูจนบันทึก
4.ครูนำวัสดุอุปกรณ์ ส่วนผสมการทำน้ำหมักมาเรียงไว้ด้านหน้าติดแผ่นชาร์ตไว้บนกระดานอ่านอุปกรณ์ ส่วนผสม วิธีการทำ เสร็จแล้วครูก็จะสาธิตพร้อมให้ตัวแทนเด็กมาช่วยครูสาธิต
5.ครูสาธิตวิธีการทำน้ำหมัก 1.หันส่วนผสมทุกอย่างให้ได้ขนาดข้อนิ้วมือ ข่า 2 หัว, สะเดา 2 กำ, ตะไคร้ 2 กำ
                                         2.นำส่วนผสมใส่รวมกันจากนั้นเทน้ำใส่ 1.5 ลิตร
                                         3.ปิดฝาให้มิดชิดหมักทิ้งไว้ 3 วัน
                                         4.เมื่อหมักครบก็กลั่นแต่น้ำมาใช้ได้เลย
6.ครูให้เด็กลงมือทำกิจกรรมโดยครูร่วมด้วยกับเด็กโดยถามเด็กไปด้วยขณะที่เด็กทำกิจกรรม

ขั้นสรุป
7.ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรมว่าวันนี้เด็กๆเรียนเรื่องอะไรบ้าง


การวัดและประเมินผล
1.เด็กได้รู้จักการดูแลรักษาข้าว
2.เด็กทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อนๆได้
3.เด็กได้ลงมือทำน้ำหมัก

การบูรณาการ
1.วิทยาศาสตร์
2.คณิตศาสตร์
3.ภาษา
4.สังคม

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้หลักการทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ได้ในการสอนเด็กในอนาคตทำให้เข้าใจง่ายเกี่ยวกับการสอนมากยิ่งขึ้นมีสื่อการสอนควบคู่ซึ่งสามารถไปใช้ได้ในการเรียนการสอน



การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ได้อธิบายและให้ความสนใจร่วมช่วยกันคิดกิจกรรมและคอยจดบันทึกตามที่อาจารย์สอนเสมอเสมอ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความสนใจในการทำกิจกรรมและตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ ใส่ใจในการเรียนการสอนมากๆเลยค่ะมีการอธิบายการเรียนการสอนเพิ่มเติมเมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจมีการแตกยอดความรู้ที่แปลกใหม่และนำไปใช้ได้จริงมีการพูดสอดแทรกคุณธรรมให้กับนักศึกษา


คำศัพท์
Objective     ออฟ เจค ทิฟว์     วัตถุประสงค์
Apply           อัพ พาย              การประยุกต์
Nature          เน เจอร์               ลักษณะ
Integration    อิน เตอร์ เก ชั่น    บูรณาการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น