วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559



สรุปงานวิจัย

ชื่องานวิจัย     ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
ศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ

ปริญญานิพนธ์
ของ
ชนกพร  ธีระกุล

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง  ซึ่งมุ่งศึกษาเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และแบบปกติ ซึ่งสรุปขั้นตอนการศึกษาตามลำดับ ดังนี้

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
            เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและแบบปกติ

สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า
            เด็กปฐมวัยที่รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
     การศึกษาครั้งนี้  มีขอบเขตการศึกษา ดังนี้
            1.ประชากร   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง  อายุ 3 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2540 จำนวน 3 ห้องเรียน  ห้องเรียนละ 30 คน  ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  เขตพระโขนง  กรุงเทพมหานคร  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
           
            2.กลุ่มตัวอย่าง    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง  อายุ 3 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2540  โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  เขตพระโขนง  กรุงเทพมหานคร  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน   จำนวน 1 ห้องเรียน  มีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน  ซึ่งได้มาโดยมีการสุ่มอย่างง่าย(Simple  Random  Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
            การศึกษาค้นคว้านี้มีเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  ซึ้งผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบไปด้วยชื่อกิจกรรม  จุดประสงค์  ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม  ชื่อวัสดุอุปกรณ์  และประเมินผล  โดยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบ่งเป็น 2 แบบ  ได้แก่
            1.1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ  ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน  40 แผน
            1.2.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  ซึ่งใช้ตามแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลที่ 1  เล่มของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ..2539  โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ  จำนวน 40 แผน
2.แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยสร้างขึ้น  เป็นแบบทดสอบที่ใช้คำถามที่เป็นรูปภาพชนิด 3 ตัวเลือก  และแบบทดสอบภาคปฏิบัติรวมทั้งสิ้นจำนวน 6 ชุด  ดังนี้
            2.1.แบบทดสอบที่เป็นรูปภาพมี 5 ฉบับ  คือ
                  2.1.1.แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต  จำนวน 8 ข้อ
                  2.1.2.แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก  จำนวน 8 ข้อ
                   2.1.3.แบบทดสอบวัดทักษะการแสดงปริมาณ  จำนวน 8 ข้อ
                   2.1.4.แบบทดสอบวัดทักษะการลงความคิดเห็น  จำนวน 5 ข้อ
                   2.1.5.แบบทดสอบวัดทักษะการหามิติสัมพันธ์  จำนวน 8 ข้อ
            2.2.แบบทดสอบภาคปฏิบัติมี 2 ฉบับ  คือ
                   2.2.1 แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อความหมาย  จำนวน 8 ข้อ
                   2.2.2 แบบทดสอบวัดทักษะการลงความเห็น  จำนวน 5 ข้อ
            จากนั้นทำแบบทดสอบ  ซึ่งผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ  และผ่านกระบวนการวิเคราะห์หาคุณภาพด้านความยากง่าย(p)  ได้ค่าระหว่าง  .40 - .80  ค่าอำนาจจำแนก(D)  ตั่งแต่  .25  ขึ้นไป  และหาค่าความเชื่อมั่น  โดใช้วิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน(Kuder-Richardson) ที่คำนวณจากสูตร  KR-20  ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  .90

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
            เด็กปฐมวัยที่ได้รับ  การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจารจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน  และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง  พบว่า  กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ มีค่าเฉลี่  39.733  สำหรับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีค่าคะแนนเฉลี่ย  31.066







บทความวิทยาศาสตร์
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ครูไม่ต้องสอน! เพราะที่นี่เรียนวิทยาศาสตร์แบบ แฮนด์-ออน
ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการของนานมีบุ๊คส์ ไม่มีครูสอนว่าต้องทำอะไร สิ่งที่ต้องทำคือเล่นๆ เพื่อนำไปสู่การหาคำตอบด้วยตัวเอง
ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งนี้ไม่มีครูมาคอยสอน ไม่มีข้อมูลอธิบายว่าเครื่องมืออยู่ตรงหน้านั้นมีไว้ทำอะไร สิ่งผู้ที่เดินเข้าไปในศูนย์แห่งนี้ต้องคือ ทดลองเล่นเมื่อสนุกสนานจนพอใจแล้วก็บ้านไปหาคำตอบว่า ทำไมมันเป็นเช่นนั้น? นี่คือวิถีการเรียนรู้แบบ แฮนด์-ออนซึ่งได้ถ่ายทอดจากเยอรมนีมาสู่เมืองไทย
เมื่อก้าวสู่ศูนย์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ (NANMEEBOOKS Hands-on Science Center in association with PHANOMENTA Ludencheid) ของบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด นั้นสิ่งที่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้เห็นคือเครื่องเล่นที่วางตามจุดต่างๆ ให้เราเข้าไปทดลองเล่น เครื่องเล่นเหล่านั้นเป็นสถานีทดลองให้เราได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยการลงมือทำ และไม่มีคำอธิบายว่าสิ่งที่ได้สัมผัสนั้นเป็นเพราะอะไรตัวอย่างเช่นกระจกเว้าบานใหญ่ซึ่งวางเยื้องทางเข้า เมื่อทดลองเดินตรงเข้าไปจนพบว่าใบหน้าของเราค่อยๆ หายไปแล้วกลายเป็นภาพหัวกลับในที่สุด หรือกระจก 3 บานที่สามารถหมุนได้ เมื่อทดลองหมุนปรากฏว่าลวดลายต่างๆ นั้นเคลื่อนที่ได้ หรือใบหน้าไอน์สไตน์ที่เหมือนกันมากเมื่อมองตรงๆ แต่เมื่อเดินผ่านไป ใบหน้าหนึ่งจะมองตามคุณตาไม่กระพริบ เหล่านี้เป็นตัวอย่างสถานีทดลองซึ่งมีทั้งหมด 26 สถานี ถ้าใครคิดว่าระยะทางสั้นที่สุดจะทำให้เราถึงหมายเร็วที่สุดอาจต้องเปลี่ยนใจเมื่อทดลองเล่นที่สถานีทางด่วน (The Big Race) ซึ่งมีเส้นทางให้ปล่อยลูกบอล 3 เส้นทาง คือ ทางโค้ง ทางตรงและทางเว้า แต่เราต้องกลับไปทางคำตอบว่า เหตุใดทางตรงซึ่งเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดจึงไม่ใช่เส้นทางที่ลูกบอลหล่นไปถึงเป้าหมายก่อนส่วนเหล่านี้เป็นการเรียนรู้แบบแฮนด์-ออน (Hands-on) ที่มีต้นแบบมาจากศูนย์วิทยาศาสตร์เฟโนเมนตา (PHANOMENTA) http://www.phaenomenta.com/ เมืองลูเดนไชด์ (Ludenchied) เยอรมนี โดย นางสุวดี จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด กล่าวว่า เธอมีความตั้งใจอยากสร้างแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการทำกิจกรรมลักษณะนี้บ้าง หลังจากที่มีโอกาสไปพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในหลายประเทศ เมื่อมีความพร้อมมากขึ้นจึงพยายามต่อยอดการเรียนการเรียนรู้จากการอ่านสู่การปฏิบัติจริง โดยเริ่มจากการนำสื่อวิทยาศาสตร์มาจำหน่ายจนกระทั่ง มร.โยฮาคิม เฮคเคอร์ (Joachim Hecker) นักเขียนเยอรมัน เจ้าของผลงาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยของนานมีบุ๊คส์ได้แนะนำนางสุวดีให้รู้จัก มร.ฮันส์-เฮนนิง ลังคิทช์ (Hans-Henning Langkitsch) คณะกรรมการศูนย์วิทยาศาสตร์เฟโนเมนตา เยอรมนี เมื่อเดือน ต.ค.53 และได้เริ่มหารือกันเมื่อเดือน ก.พ.54 ที่ผ่านมา และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ของศูนย์วิทยาศาสตร์ดังกล่าวสู่เมืองไทยในที่สุด ซึ่งกรรมการผู้จัดการนานมีบุ๊คส์กล่าวว่าเยอมนีนั้นมีศูนย์วิทยาศาสตร์ในชุมชนอยู่มาก และเน้นว่าเยอรมันนั้นถือเป็น แม่แบบของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชน



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16 วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559



เนื้อหาที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ได้ทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์แผนการสอนกิจกรรมแต่ละวัน ซึ่งกลุ่มของหนูเรื่อง หน่วยข้าวอาจารย์ให้จักกิจกรรม กลุ่มหนูได้มันพุธเป็นเรื่องของการดูแลรักษา

เรื่องที่สอนคือ วันพุธการดูแลรักษา หน่วยข้าว” 




วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เด็กได้รู้จักการดูแลรักษาข้าว
2.เพื่อให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อนๆได้
3.เพื่อให้เด็กได้ลงมือทำน้ำหมัก

สาระที่ควรเรียนรู้
การทำน้ำหมักจากวัตถุดิบธรรมชาติเป็นวิธีการทำน้ำหมักเพื่อไล่แมลงในนาข้าวได้

ประสบการสำคัญ
ด้านสังคม = การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
                   การวางแผนตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ
ด้านสติปัญญา = การรู้จักสิ่งต่างๆด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรสและดมกลิ่น
                          การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
                          การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือเล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเอง
                          การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
1.ครุพาเด็กอ่านคำคล้องจอง ครูอ่านให้ฟังหนึ่งรอบ เด็กๆอ่านตามครูทีละวรรค ครูและเด็กๆอ่านพร้อมๆกัน



ขั้นสอน
2.ครูถามเด็กว่าในคำคล้องจองมีวิธีการดูแลรักษาข้าวอย่างไรบ้าง (เด็กตอบ) ครูจดบันทึก
3.ครูถามเด็กนอกเหนือจากในคำคล้องจองเด็กๆคิดว่ามีการดูแลรักษาข้าวแบบไหนอีก (เด็กตอบ) ครูจนบันทึก


4.ครูนำวัสดุอุปกรณ์ ส่วนผสมการทำน้ำหมักมาเรียงไว้ด้านหน้าติดแผ่นชาร์ตไว้บนกระดานอ่านอุปกรณ์ ส่วนผสม วิธีการทำ 




5.ครูสาธิตวิธีการทำน้ำหมัก 1.หันส่วนผสมทุกอย่างให้ได้ขนาดข้อนิ้วมือ ข่า 2 หัว, สะเดา 2 กำ, ตะไคร้ 2 กำ
                                         2.นำส่วนผสมใส่รวมกันจากนั้นเทน้ำใส่ 1.5 ลิตร
                                         3.ปิดฝาให้มิดชิดหมักทิ้งไว้ 3 วัน
                                         4.เมื่อหมักครบก็กลั่นแต่น้ำมาใช้ได้เลย
ระหว่างที่ครูสาธิตก็จะให้ตัวแทนเด็กมาช่วยครูสาธิต





6.ครูให้เด็กลงมือทำกิจกรรมโดยครูร่วมด้วยกับเด็กโดยถามเด็กไปด้วยขณะที่เด็กทำกิจกรรม




ขั้นสรุป
7.ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรมว่าวันนี้เด็กๆเรียนเรื่องอะไรบ้าง

สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1.ตะไคร้
2.ใบสะเดา
3.ข่า
4.น้ำเปล่า
5.กะละมัง
6.มีด

การวัดและประเมินผล
1.เด็กได้รู้จักการดูแลรักษาข้าว
2.เด็กทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อนๆได้
3.เด็กได้ลงมือทำน้ำหมัก

การบูรณาการ
1.วิทยาศาสตร์
2.คณิตศาสตร์
3.ภาษา
4.สังคม



ตัวอย่างกิจกรรมของเพื่อนๆกลุ่มอื่นค่ะ

วันจันทร์ เรื่องสายพันธ์ หน่วยไก่



วันอังคาร เรื่องลักษณะ หน่วยนม


วันพุธ เรื่องการถนอม หน่วยส้ม



วันพฤหัสบดี ประโยชน์และโทษ หน่วยกล้วย


วันศุกร์ เรื่อง Cooking “ หน่วยน้ำ


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้หลักการทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ได้ในการสอนเด็กในอนาคตทำให้เข้าใจง่ายเกี่ยวกับการสอนมากยิ่งขึ้นมีสื่อการสอนควบคู่ซึ่งสามารถไปใช้ได้ในการเรียนการสอน



การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ได้อธิบายและให้ความสนใจร่วมกิจกรรมและคอยจดบันทึกตามที่อาจารย์สอนเสมอทำการสอนในการจัดกิจกรรมได้อย่างเข้าใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความสนใจในการทำกิจกรรมและตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดีและร่วมด้วยช่วยกันเข้าร่วมกิจกรรมจนสำเร็จลุล่วงกันทุกกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ ใส่ใจในการเรียนการสอนมากๆเลยค่ะมีการอธิบายการเรียนการสอนเพิ่มเติมเมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจมีการแตกยอดความรู้ที่แปลกใหม่และนำไปใช้ได้จริงมีการพูดสอดแทรกคุณธรรมให้กับนักศึกษา

คำศัพท์
1. Future              ฟิว เจอร์               อนาคต
2.Lemon grass    เล ม่อน กราส       ตะไคร้
3.Galangal          กา แรง เกิล           ข่า
4.Knife                 ไนซ์                      มีด
5.Basin                บา ซิล                  กะละมัง