วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันอังคารที่ 20 กันยายน 2559


เนื้อหาที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ

        วันนี้อาจารย์ให้คัดลายมือหัวกลมตัวเหลี่ยมเป็นครั้งที่สองเตรียมก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์อยากให้ฝึกเขียนหัวกลมตัวเหลี่ยมบ่อยๆจะได้คุ้นชินกับการเขียนเพื่อความคุ้นชินกับการเขียนตัวกลมตัวเหลี่ยม



กิจกรรมที่ 1 ภาพสามมิติ
      อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นให้นักศึกษาเลือกปากกาเมจิกสีสามสีจากนั้นให้วาดรูปมือของตัวเองลงในกระดาษเอสี่ หลังจากวาดรูปมือเสร็จก็ขีดเส้นตรงสองเส้นติดกันเส้นละสีเว้นระยะห่างประมานสองเซนติเมตร ภาพที่ออกมาจะมีลักษณะภาพที่นูนหรือเรียกว่าภาพสามมิติ เราสามารถนำวิทยาศาสตร์เข้าไปในภาพให้ภาพเป็นภาพสามมิติได้สามารถสอนเด็กได้







ภาพติดตาที่อาจารย์ให้ดูเป็นตัวอย่างอีกแบบ






         ภาพติดตาแบบหมุนจากเชือกกับภาพติดตาแบบหมุนจากไม้เป็นภาพที่มีวิธีการเดียวกันแต่มีเทคนิคที่แตกต่างกัน เด็กจะได้มีประสบการณ์ถ้าใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายก็จะได้ประสบการณ์ที่หลากหลายทำให้เกิดหลากหลายวิธีเด็กจะได้จินตนาการ



กิจกรรมที่ 2 นำเสนอของเล่น
         จากนั้นนำเสนอของเล่นได้ความรู้เพิ่มเติมจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ ดังนี้ แรงเกิดเสียง แรงเป่า แรงเสียดสี แรงจุดศูนย์ถ่วง แรงดัน แรงขับเคลื่อน แรงหนีศูนย์ถ่วง

แรงเกิดเสียง : วัตถุที่ทำให้เกิดเสียง เมื่อวัตถุนั้นเกิดการสั่นสะเทือน แหล่งกำเนิดเสียงแต่ละชนิดจะทำให้กำเนิดเสียงที่มีความแตกต่างกัน เสียงเป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่น สะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น

แรงจุดศูนย์ถ่วง : วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณะสมดุลได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน

แรงหนีศูนย์ถ่วง : แรงเทียมที่พยายามดึงวัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมออกไปจากจุดศูนย์กลาง แรงนี้เกิดจากความเฉื่อยของวัตถุที่พยายามจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงและต่อต้านกับการถูกบังคับให้เคลื่อนที่โค้งเป็นวงกลม



กิจกรรมที่ 3 ดอกไม้บาน
 อาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่น แบ่งกระดาษเป็นสี่ส่วนให้ได้ส่วนเล็กๆ จากนั้นพับครึ่งสองครั้งให้ตัดเป็นกลีบดอกไม้เสร็จแล้วก็ระบายสีตรงกลาง




-น้ำจะเข้าไปซึมในเยื่อกระดาษ กระดาษมีโมเลกุลว่างอยู่จึงทำให้น้ำนั้นซึมง่ายจึงทำให้ดอกไม้บานพอน้ำโดนสีสีก็จะซึม
-หลักการสอน = ตั้งสมมติฐาน คาดการก่อนทำกิจกรรม
-เมื่อนำไปสอนเด็ก เด็กจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของกระดาษและความแตกต่างของกระดาษจึงทำให้รู้หลักกระบวนการมากขึ้นว่าจะทำให้ดอกไม้บานได้ ยกตัวอย่างเช่น เส้นหมี่อบแห้งจะทำให้เส้นหมี่อยู่ได้นานโดยการที่เอาน้ำออกและกระดาษทิชชู่กับสำลีก็หลักการเช่นเดียวกัน



การนำไปประยุกต์ใช้
เราสามารถน้ำหลักการเรียนวันนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่น กระดาษทิชชู่กับสำลีเมื่อโดนน้ำก็จะทำให้กระดาษทิชชู่กับสำลีเกิดการเปลี่ยนแปลง เส้นบะหมี่ถ้าโดนน้ำก็จะอืดขึ้นมีหลากหลายวิธีการมากมายในชีวิตประจำวัน

ประเมินผลการเรียน

ประเมินตัวเอง : วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์สอนและได้จดบันทึกทุกครั้งที่มีการสอนค่ะ

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนให้ความสนใจในในการเรียนการสอนของอาจารย์ดีค่ะและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจจดบันทึกการเรียนรู้อย่างดีค่ะ


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำมากมายและน่าสนใจมากค่ะสอนเข้าใจอธิบายได้อย่างชัดเจนเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดได้แก้ปัญหาและตอบคำถามได้ อาจารย์สอนเข้าใจให้รู้ถึงหลักการวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดีค่ะ

คำศัพท์
applied            อะ พราย            ประยุกต์
inventive         อิน เวน ทีฟ         สร้างสรรค์
interested       อิน เทอร์ สเตน    สนใจ
paper              เพ เพอะ             กระดาษ

fine                 ฟายด์                 ละเอียด


วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันอังคารที่ 13 กันยายน 2559


เนื้อหาที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ
ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ให้คัดลายมือ ก-ฮ เป็นหัวกลมตัวเหลี่ยมจากนั้นอาจารย์ได้ให้สรุปการทำของเล่นโดยมีหัวข้อดังนี้
1.ชื่อของเล่นพร้อมภาพ
2.อุปกรณ์
3.ขั้นตอนการทำ
4.วิธีการเล่น
5.หลักการทางวิทยาศาสตร์
6.บูรณาการอะไร

ชื่อของเล่น เหวี่ยงหรรษา


วัสดุ/อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.ลูกกลมๆหรือกระดิ่ง
3.ของตกแต่ง
  
วิธีการทำ
1.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

2.แล้วพับกระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยม

3.พับมุมสามเหลี่ยมเข้ามาด้านหนึ่ง

4.พับมุมสามเหลี่ยมอีกด้านเข้ามา

5.พับมุมสามเหลี่ยมด้านบน1ด้าน

6.พับมุมสามเหลียมด้านบนอิกด้านลงมา

7.ติดเชือกแล้วลูกกลมๆ แล้วตกแต่งให้สวยงาม

วิธีการเล่น
เหวียงยังไงก็ได้ให้ลูกกลมๆเข้าไปอยู่ตรงกลาง

หลักการวิทยาศาสตร์
แรง (Force) หมายถึง สิ่งที่ไปกระทำต่อวัตถุ แล้วทำให้วัตถุนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุ เช่น เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เปลี่ยนขนาดของอัตราเร็ว หรือเปลี่ยนขนาด รูปร่างของวัตถุ
แรง มีหน่วย เป็น นิวตัน (N) (เป็นการให้เกียรติแก่เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก) แรง เป็น ปริมาณเวกเตอร์ ซึ่งมีขนาดและทิศทาง
นอกจากนี้ นิวตันยังได้อธิบายเกี่ยวกับแรงไว้เป็น กฎต่างๆ 3 ข้อ คือ
กฎข้อ 1 "วัตถุจะรักษาสภาพอยู่นิ่งหรือสภาพเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง นอกจากจะมีแรงลัพธ์ที่ค่าไม่เป็นศูนย์
มากระทำ"
กฎข้อ 2 "เมื่อมีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุเกิดความเร่งในทิศเดียวกับ แรงลัพธ์ที่มากระทำและขนาดของความเร่งนี้จะแปลผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์และแปลผกผันกับมวลของวัตถุ
กฎข้อ 3 "ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันและทิศทางตรงข้ามเสมอ"
ชนิดของแรง
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แรงในธรรมชาติ หมายถึง แรงที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เราไม่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดแรงเหล่านี้ขึ้น แต่เรารู้ว่ามีแรงเกิดขึ้นเพราะสามารถทดลองให้เห็นจริงได้
แรงในธรรมชาติจะแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆได้ 4 แรง คือ
1.1 แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravitation Force) เป็นแรงที่ใกล้ตัวเราที่สุด ทำให้เราไม่หลุดออกไปแล้วอยู่อย่างอิสระเหมือนอยู่ในอวกาศ นิวตัน อธิบายโดยใช้กฎแรงดึงดูดระหว่างมวล คือ "วัตถุ 2 วัตถุที่อยู่ห่างกันจะเกิดแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงจะแปรผันตรงกับขนาดของมวลทั้ง 2 และแปรผกผันกับระยะห่างระหว่างมวลทั้ง 2 ยกกำลังสอง "
ความหมายของแรง
แรง หมายถึง อำนาจภายนอกที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะได้ เช่นทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่ไป ทำให้วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วเคลื่อนที่เร็วหรือช้าลง ทำให้วัตถุมีการเปลี่ยนทิศตลอดจนทำให้วัตถุมีการเปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงไปจากเดิมได ้แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีทั้งขนาดและทิศทางการรวมหรือหักล้างกันของแรงจึงต้องเป็นไปตามแบบเวกเตอร์
แรง (force) หมายถึง ปริมาณที่กระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม แรงนี้อาจจะสัมผัสกับวัตถุหรือไม่สัมผัสกับวัตถุก็ได้ แรงดึง แรงผลัก และแรงยก แรงพวกนี้กระทำบนพื้นผิวของวัตถุ แต่มีแรงบางชนิด เช่น แรงแม่เหล็ก แรงทางไฟฟ้า และแรงโน้มถ่วงจะไม่กระทำบนผิวของวัตถุ แต่กระทำกับเนื้อของวัตถุทุกตำแหน่ง เช่น น้ำหนักของวัตถุ ก็คือ แรงดึงดูดของโลกที่กระทำกับวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัสกับผิวของวัตถุเลย แรงจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ เพราะมีทั้งขนาดและทิศทาง หน่วยของแรงในระบบเอสไอ คือ นิวตัน (N) เนื่องจากแรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ สัญลักษณ์ที่เขียนแทนแรง คือ
เวกเตอร์ของแรง
ปริมาณบางปริมาณที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันบอกเฉพาะขนาดเพียงอย่างเดียวก็ได้ความหมายสมบูรณ์แล้ว แต่บางปริมาณจะต้องบอกทั้งขนาดและทิศทางจึงจะได้ความหมายที่สมบูรณ์ ปริมาณในทางฟิสิกส์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ปริมาณสเกลาร์ (scalar quantity) คือ ปริมาณที่บอกแต่ขนาดอย่างเดียวก็ได้ความหมายที่สมบูรณ์ โดยไม่ต้องบอกทิศทาง เช่น เวลา ระยะทาง มวล พลังงาน งาน ปริมาตร ฯลฯ ในการหาผลลัพธ์ของปริมาณสเกลาร์ทำได้โดยอาศัยหลักทางพีชคณิต คือ ใช้วิธีการบวก ลบ คูณ หาร
2. ปริมาณเวกเตอร์ (vector quantity) คือ ปริมาณที่ต้องการบอกทั้งขนาดและทิศทางจึงจะได้ความหมายที่สมบูรณ์ เช่น ความเร็ว ความเร่ง การกระจัด โมเมนตัม แรง ฯลฯ
หลักโมเมนตัม
เป็นปริมาณการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งปริมาณนี้จะบอกถึงความพยายามที่วัตถุจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าปริมาณโมเมนตัมที่กำหนดขึ้นนี้ มีขนาดมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับมวลและความเร็วของวัตถุในขณะนั้น ตามความสัมพันธ์ว่าโมเมนตัม = มวล x ความเร็ว 


เด็กเรียนรู้เรื่องอะไร ตัวฉัน บุคคลและสถานที่ ธรรมชาติรอบตัวเด็ก สังเกตรอบตัว
แนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์
-การปรับตัว
-ความแตกต่าง
-การเปลี่ยนแปลง
-พึ่งพาอาศัย
-ความสมดุล
-การคิดริเริ่มเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำ
-ความคล่องแคล่ว
-เกิดความยืดหยุ่น
-ระเอียดลออ
-ความคิดสร้างสรรค์
*เป็นการลงมือทำที่เด็กได้รับจากการทำของเล่น อาจารย์อยากให้มีไอเดียใหม่ๆให้ริเริ่มใหม่และสามารถนำไปปรับใช้ได้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะที่ การสังเกต 
ทักษะที่ การวัด 
ทักษะ ที่ การคำนวณ 
ทักษะที่ การจำแนกประเภท 
ทักษะที่ การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา 
ทักษะที่ การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล
ทักษะที่ การลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะที่ การพยากรณ์
ทักษะที่ การตั้งสมมติฐาน
ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร
ทักษะที่ 12 การทดลอง

ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล 
มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สาระสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แสงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จากนั้นอาจารย์ให้ดูวีดีโอเรื่อง ความลับของแสง

ความรู้ที่ได้จากวีดีโอ
แสงทำให้เรามองเห็นได้อย่างไร แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็ว 3 แสนกิโลเมตรต่อวินาทีแสงเดินทางเป็นเส้นตรงวัตถุที่แสงมากระทบมีสามแบบด้วยกันคือ วัตถุโปรงแสง วัตถุโปรงใสและวัตถุทึบแสงนั้นเอง
จากนั้นอาจารย์ก็ให้ดูสื่อการสอนเป็นภาพเคลื่อนไหวและภาพติดตาและได้มอบหมายงานให้ออกแบบภาพเคลื่อนไหวหนึ่งภาพและภาพติดตาหนึ่งภาพ และงานกลุ่มสามคนออกแบบสื่อที่นำเข้ามุมวิทยาศาสตร์

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำบนเรียนและวิธีการสอนแบบการทดลองวิทยาศาสตร์นำไปสอนเด็กได้เพราะการสอนที่ผ่านการลงมือปฏิบัติลงมือทดลองจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจสำหรับเด็ก

ประเมินผลการเรียน

ประเมินตัวเอง : วันนี้อาจารย์ได้ให้ดูวีดีโอในเรื่องความลับของแสงก็ตั้งใจดูและเข้าใจค่ะ

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนให้ความสนใจในวีดีโอและสามารถสรุปร่วมกันได้

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เปิดสื่อวีดีโอที่ทำให้เข้าใจง่าย อาจารย์มีการอธิบายในเนื้อหาการเรียนการสอนได้อย่างเข้าใจและเห็นภาพได้อย่างชัดเจนค่ะ


คำศัพท์
mirror          มิ เรอ           กระจก
fluent            ฟลู เอท        คล่องแคล่ว
resilient       ริ ซิ เลน        ยืดหยุ่น

light               ไลท์             แสง                                                                                                                      Balance        แบ เลิซ์น      สมดุล


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันอังคารที่ 6 กันยายน 2559


เนื้อหาที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปดูวีดีโอที่อาคารห้องสมุดมหาวิทยาลัยซึ่งวีดีโอที่เปิดให้ดูคือเรื่อง อากาศมหัศจรรย์



ความรู้ที่ได้จากวีดีโอ

ลมคืออากาศที่เคลื่อนที่ได้
รอบๆตัวมีอากาศ  หมุษย์ สัตว์อื่นๆก็ต้องใช้อากาศอาศัยในการหายใจด้วยเพราะอากาศเคลื่อนที่อยู่รอบๆ สามารถอยู่ได้ทุกที่ถึงแม้ว่าเราจะมองไม่เห็นก็ตามแต่ก็มีตัวตนอยู่จริง
โดยมีการทดลอง เช่น เรามีชามแก้วใส่น้ำอยู่หนึ่งใบ ถ้วยแก้วและก็กระดาษจากนั้นนำกระดาษไปติดในถ้วยแก้วจนแน่ใจว่าเมื่อเราคว่ำถ้วยลงไปแล้วกระดาษจะไม่หล่นลงมาแล้วเราลองจุ่มถ้วยแก้วในชามน้ำโดยให้ปากแก้วคว่ำลงแช่ทิ้งไว้สักพักยกถ้วยแก้วออกจะเห็นได้ว่ากระดาษจะไม่เปียกน้ำเลย
ที่กระดาษในถ้วยแก้วไม่เปียกน้ำเลยก็แสดงว่าระหว่างกระดาษกับน้ำนั้นจะต้องมีสิ่งอะไรที่กลั้นอยู่แน่ๆสิ่งนั้นก็คืออากาศนั้นเองถึงแม้อากาศจะไม่มีขนาดและรูปร่างและอากาศจะแซกตัวอยู่ได้ในทุกพื้นที่เลย


จากนั้นอาจารย์ก็ให้นำเสนอของเล่นตัวเองทำที่อาจารย์ให้ทำไว้เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว

ของเล่น เหวี่ยงมหาสนุก




เป็นแรงจุดศูนย์ถ่วงและโมเมนตัมที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปข้างหน้าขึ้นอยู่กับมวลและความเร็วของวัตถุ

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำบนเรียนและวิธีการสอนแบบการทดลองวิทยาศาสตร์นำไปสอนเด็กได้เพราะการสอนที่ผ่านการลงมือปฏิบัติลงมือทดลองจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจสำหรับเด็ก


ประเมินผลการเรียน

ประเมินตัวเอง : วันนี้อาจารย์ได้ให้ดูวีดีโอในเรื่องอากาศมหัศจรรย์ก็ตั้งใจดูและเข้าใจค่ะและนำของเล่นมานำเสนอหน้าห้องได้อย่างเข้าใจในหลักวิทยาศาสตร์ค่ะ

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนให้ความสนใจในวีดีโอและสามารถสรุปร่วมกันได้และเพื่อนๆก็นำเสนอของเล่นของตัวเองได้อย่างน่าสนใจค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เปิดสื่อวีดีโอที่ทำให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจและยังให้ทำของเล่นจากการประดิษฐ์เองเพื่อให้เราได้แก้ปัญหาได้ดีเมื่อเวลาที่ต้องไปใช้ในการสอนเด็ก อาจารย์มีการอธิบายในเนื้อหาการเรียนการสอนได้อย่างเข้าใจและเห็นภาพได้อย่างชัดเจนค่ะ

คำศัพท์
Air                           แอร์                       อากาศ
wind                        เวน                        ลม
centrifugal force     เซนทิฟูเกอร์ โฟซ์     แรงเหวี่ยง                                                                                          
direction                 ดิเลคชั่น                 ทิศทาง        
shape                     เชป                       รูปร่าง