วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  3 วันอังคารที่  23 สิงหาคม 2559



เนื้อหาที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ

             เนื่องจากในวันนี้อาจารย์ได้ติดธุระจึงได้เป็นการมอบหมายงานให้นักศึกษาได้ทำคือการสรุปรูแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  มีดังนี้
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
-วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
-รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
-เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
-เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
-ใช้กรรไกรมือเดียวได้
-วาดและระบายสีอิสระได้











พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
-ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
-กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
                                                
                                 


พัฒนาการด้านสังคม
-รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
-ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
-เล่นสมมติได้
-รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านร่างกาย
-กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
-รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
-เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
-ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
-กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย











พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
-เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
-ชอบท้าทายผู้ใหญ่
-ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
                                                 

พัฒนาการด้านสังคม
-แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
-เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน หลัง
-แบ่งของให้คนอื่น
-เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
-กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
-รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
-เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
-ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม  ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
ยืดตัว  คล่องแคล่ว




พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
-ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
-ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง
                                                             
                                              



พัฒนาการด้านสังคม
-ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
-เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
-พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ
-รู้จักขอบคุณ  เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
-รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
-บอกชื่อของตนเองได้
-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
-ร้องเพลง ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
-รู้จักใช้คำถาม อะไร
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
-อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง  จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
-บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม”      “อย่างไร
-เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
-นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า  10  ได้


ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
-ชอบที่จะให้ผู้ใหญ่พอใจและได้ตำชม
-ช่วยตนเองได้
-ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
-พูดประโยคยาวขึ้น
-ร้องเพลงง่ายๆแสดงท่าทางเลียนแบบ
-ชอบถาม ทำไมตลอดเวลา
-อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
-มีช่วงความสนใจสั้น (8-10นาที)
-พอใจคนที่ตามใจ

ทฤษฎีการเรียนรู้
-การทดลองของพาฟลอฟ
-การทดลองของวัตสัน
-การวางเงื่อนไขกลับการทดลองของเมรีเจน
-การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
-ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่องโยงของธอร์นไดค์
-ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่องหรือเชื่อมโยง
-การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom’s Taxonomy)
-การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
-การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)



สรุปงานในวันนี้







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การสรุปความรู้ในวันนี้ทำให้เรารู้พัฒนาการตามวัยของเด็กปฐมวัยทำให้เราสามารถจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กได้อย่างเข้าใจและเลือกกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมหกหลักและบรูณาการเข้ากับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

ประเมินผลการเรียน
ประเมินตัวเอง : วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้สรุปงานก็ตั้งใจทำงานส่งจนเสร็จและเข้าเรียนได้ตรงเวลาค่ะ

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนเข้าเรียนกันได้ตรงต่อเวลาและทำงานสรุปใบงานที่อาจารย์มอบหมายได้อย่างตั้งใจค่ะ


วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2559 ชดเชยครั้งที่ 2 วันที่ 16 สิงหาคม 2559


ความรู้ที่ได้รับ

ขอบข่าย

เนื้อหา                                                                                                                              
-โลกดาราศาสตร์                                                                                                                  
-สิ่งแวดล้อม

เนื้อหา
-สาระสำคัญ
-ธรรมชาติ
-สิ่งต่างๆ                }  นำมาจากหนังสือหลักสูตร
-บุคคล
-ตัวเด็ก

* การที่จำนำเนื้อเหล่านี้มาจะต้องเป็นเรื่อง 1.ใกล้ตัวของเด็ก 2.มีผลกระทบกับเด็ก 3.สิ่งที่เด็กสนใจ *

วิทยาศาสตร์ คือการสืบค้นความจริงของกระบวนการวิทยาศาสตร์ เช่น การทดลองเพื่อให้ความรู้ในข้อเท็จจริงของวิทยาศาสตร์โดยวิทยาศาสตร์มีหลักดังนี้                                                                                                            
-ตั้งสมมุติฐาน 
-สังเกต                                                                                                                                                            
-ทดลอง = อยากรู้                                                                                                                                            
-สำรวจ                                                                                                                                                            
-วิเคราะห์                                                                                                                                                        
-เก็บรวบรวมข้อมูล                                                                                                                                            
-สรุป = สรุปเพื่ออิงข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ

ข้อสรุปวิทยาศาสตร์                                                                                                                             
หมายถึง การสืบค้นหรือหาความจริงที่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การทดลอง การใช้เหตุผล การสำรวจ การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ การสรุป เป็นต้นเพื่อให้ได้ความรู้ละข้อเท็จจริงในเรื่องวิทยาศาสตร์การเปลี่ยนแปลง



แนวคิดพื้นฐาน                                                                                                      
วิทยาศาสตร์ = การเปลี่ยนแปลง เช่น ธรรมชาติ/บุคคล                                                 
ธรรมชาติ = การปรับตัว เช่น กิ้งก่าเปลี่ยนสีตามฤดูกาล ธรรมชาติมีความแตกต่างกันต้นไม้แต่ละต้นมีขนาดที่แตกต่างกัน ธรรมชาติพึ่งพาอาศัยกันเช่นอกเอี้ยงกับควาย ธรรมชาติมีความสมดุลถ้าคนรุกรานในที่ของสัตว์ สัตว์ก็จะไม่มีที่อยู่อาศัยและอาหารกิน

เครื่องมือในการเรียนรู้                                                                                                          
-ภาษา                                                                                                                                                         
-คณิตศาสตร์

เจตคติทางวิทยาศาสตร์                                                                                                        
-อยากรู้อยากเห็น                                                                                                                                              
-เพียรพยายาม                                                                                                                                                 
-ระเอียดรอบคอบ                                                                                                                                             
-ซื่อสัตย์                                                                                                                                                          
-เชื่อตามเหตุและผล                                                                                                                                         
-ต้องมีใจกว้าง

วิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญอย่างไร ?                                                                                      วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่จะตองสนองต่อการดำรงชีวิตทำให้เราสะดวก สบายสำคัญต่อการสร้างเสริมประสบการณ์กับเราทำให้เราเชื่อมั่นในตนเองในการค้นหาวิทยาศาสตร์

เด็กปฐมวัย                                                                                                       
-มีพัฒนาการที่มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง                                                                       
-พัฒนาการแรกเกิด-2ปี เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า                                                                                
-พัฒนาการทางสติปัญญา=ภาษา/ความคิด                                                                                                      
-การเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็กให้เด็กได้ลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าโดยการที่เด็กเล่นด้วยตนเองอย่างอิสระที่สนาม เด็กเล่นเครื่องหรือมุมเสรี

การนำไปประยุกต์ใช้
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สามารถบูรณาการไปกับกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ศิลปะและภาษาหรือนำกิจกรรมอื่นๆได้ข้อสำคัญต้องให้เด็กได้เรียนรู้จากการสังเกตและทดลอง




ประเมินผลการเรียน

ประเมินตนเอง : วันนี้อาจารย์ได้สอนก็ได้จดบันทึกในสิ่งที่อาจารย์สอนก็ได้ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอนได้ดีค่ะและเห็นเพื่อนมีการจดบันทึกที่อาจารย์สอนและร่วมมือกันทำกิจกรรมได้ดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนและอธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจและให้นักศึกษาทำกิจกรรมโดยที่อาจารย์มีการอธิบายความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรมได้อย่างเข้าใจมากขึ้นค่ะ


คำศัพท์
observe            ออบ เซิฟ                       สังเกต
experiment        เอ็กซ เพอ ริ เมน            ทดลอง
a survey           อะ เซอเวล์                     สำรวจ
analyze            อะ นา ริ                        วิเคราะห์

Reason               รี ซันต์                           เหตุผล


วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันที่ 22  สิงหาคม  2559 ชดเชยวันที่9สิงหาคม 2559


บรรยากาศในการเรียน

ครูอธิบายเรื่องการทำ Blogger  โดยมีเนื้อหาการทำ Blogger ดังนี้
1.ชื่อเรื่อง Blogger การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรใช้ภาษาอังกฤษว่า Science Experiences Management for Early Childhood
2.คำอธิบายตรง Blogger ให้พิมพ์ว่า E-portfolio
3.ตกแต่ง Blogger โดยมี ปฏิทิน, นาฬิกา, สถิติการเข้าชม, รูปโปรไฟล์, Link เว็บต่าง ๆ โดยมีภาษาอังกฤษทั้งหมด
4. หา Link งานวิจัยวิทยาศาสตร์โดยชื่อวิจัยตรง      Link และสรุปวิจัยลง Blogger โดยเน้นวิธีการใช้ ใช้อย่างไร
5. หา Link บทความวิทยาศาสตร์เนื้อหาของบทความถ้าไม่เป็นภาษาอังกฤษ แต่หัวเรื้องต้องเป็นภาษาอังกฤษ
6. หา Link ที่เป็นสื่อวิทยาศาสตร์ เช่น ของเล่น กังหันลม
7. การพิมพ์ Blogger ทุกครั้งต้องมีความรู้ที่ได้รับ, การนำไปประยุกต์ใช้, การประเมินผลตนเอง เพื่อน อาจารย์ผู้สอน

8. การเรียนทุกครั้งต้องมีศัพท์ภาษาอังกฤษอย่างน้อย5 คำ

คำศัพท์
Teacher     ที เช่อ        คุณครู
Practice     พรัค ทิช     ฝึกฝน
Learning    เลิน นิ่ง      เรียนรู้

Mark          มาร์ค         เครื่องหมาย